Monday, August 27, 2007

การตั้งถิ่นฐานในย่านเมืองตรัง | Settlement in Trang Area

ราวพุทธศตวรรษที่8 หรือประมาณ 1,800 ปี มาแล้วมี ชุมชนชื่อปาแลนดา หรือ ปะหลียน (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของ จ.ตรัง ) ปรากฎในจดหมายเหตุของปโตเลมี ว่าเป็นเมืองท่า ทางฝั่งตะวันตก ของแหลมสุวรรณภูมิ นักวิชาการเห็นว่าเมืองนี้มีความสำคัญในยุคแรกเริ่มของการค้าสำเภาโบราณ เพราะพื้นที่จ.ตรัง มีเส้นทางข้ามคาบสมุทรอินเดียไปยังฝั่งอ่าวไทย ทั้งที่จ.นครศรีธรรมราช และจ.สุราษฎร์ธานี ความสำคัญของตรังในฐานะเมืองท่านี้มีอยู่ต่อเนื่องมาถึงสมัยศรีวิชัย อยุธยา และธนบุรี ชาวต่างชาติที่มาจากตะวันตกเพื่อมายังนครศรีธรรมราช หรือ อยุธยา จะมาขึ้นฝั่งที่ตรัง แล้วเดินทางต่อมาทางบก ในพุทธศตวรรษที่18 ตรังอยู่ในฐานะมือง12 นักษัตรบริวารของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช โดยตรังถือตรา มะมีย เป็นตราประจำมือง ในสมัยนี้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาจากลังกามายังนครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อว่าตรังคือประตูสำคัญของการเดินทางติดต่อกัน



In the 8th Century, there existed a community known as 'Palanta' or 'Palean' (presently an aumper in Trang province) recorded in Ptoleme's letter, described as a port to the west of Suvanabhume Cape. This settlement was reasoned to have been of importance due to its location linking the Indian Ocean to the Gulf of Thailand. This importance lasted well into the SriVichai Era to Ayudhaya and Thonburi; all those arriving to Siam have to pass through Trang before getting to NakornSrithammarat and Ayudhaya by land. It is also considered to have been a gateway for Buddhism into Siam from SriLanka.

No comments: