Saturday, September 1, 2007

Friday, August 31, 2007

ลักษณะภูมิศาสตร์ | The Geography

จากแผนที่ภูมิศาสตร์จะเห็นว่าบริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะมีสภาพเป็นที่ราบลงสู่ชายหาดประกอบกับเป็นที่หลบมรสุมที่มาจากลมตะวันตกเฉียงใต้ จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการตั้งถิ่นฐาน ประกอบกับคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชาวเลมีวิถีทำประมงจึงมีการสร้างชุมชนแรกๆบริเวณหัวแหลม ต่อมาเมื่อมีการปลูกยางพารากันแพร่หลายในจังหวัดตรัง ก็มีการบุกเบิกพื้นที่บริเวณตอนกลางของเกาะซึ่งที่เนินเพื่อทำสวนยางจนมีการประกาศพื้นที่อุทยาน ในปี 2526 จึงมีการจำกัดพื้นที่ทำสวนยาง

ทางทิศตะวันตกของเกาะเป็นพื้นที่ลาดชัน มีอ่าวเล็ก 2 อ่าว ปัจจุบันเป็นพื้นที่ครอบครองของเอกชนที่ทำรีสอร์ท และเป็นที่ตั้งของถ้ำมรกต ส่วนบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่อุทยานและยังคงสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำของเกาะมุกด์



From the contour map, it can be seen that the east side of the island is the sloping ground leading towards the beach, offering protection from monsoon wind on the west. It was simply the most logical settlement site for the first groups of fisher folk community to put down their roots upon arrival on the island

The centre of the island was utilised as rubber plantations following the boom in Trang. Two bays form the West part of the island; the location of the tourist attraction Emerald Cave as well as several private resorts. The Forrest in the NorthWest is part of the National Park and the source of fresh water on Koh Mook.

Monday, August 27, 2007

การตั้งถิ่นฐานบนเกาะมุกด์ | Koh Mook Settlement

จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่เกิดบนเกาะมุกด์ กล่าวว่าคนกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มชาวเลที่มาจากเกาะหลีเป๊ะ เมื่อประมาณ 100 -150 ปีก่อน มาอาศัยอยู่บริเวณหัวแหลมเนื่องจากเป็นจุดที่ออกทะเลได้สะดวกและเป็นด้านที่ปลอดภัยจากลมมรสุมที่มาจากฝั่งอันดามัน ต่อมาก็มีการอพยพของกลุ่มคนชาวมาลายูซึ่งหนีภัยสงครามมาตั้งถิ่นฐานร่วมกันชาวเลเดิม และเริ่มมีการเผยแผ่ศาสนาอิสลามให้กับกลุ่มชาวเล ต่อมาก็มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานเพิ่มเติม กลุ่มคนจีนเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มบุกเบิกการทำสวน และมีการติดต่อค้าขายกับทางฝั่งที่อ.กันตัง(ซึ่งเป็นเมืองท่าสำคัญในขณะนั้น) จากเดิมที่การตั้งบ้านเรือนจะเกาะกลุ่มอยู่ตามแนวชายหาดด้านตะวันออกของเกาะ เมื่อบริเวณหัวแหลมมีคนอยู่มากขึ้นก็มีการกระจายตัวไปตามอ่าวต่างๆ และเริ่มขยายตามกลุ่มเครือญาติ อยู่ในอ่าวเดียวกัน มีเรื่องเล่าว่าบริเวณอ่าวกลางมีกลุมคนจีนไปบุกเบิกที่ดินบนบกแล้วเปิดร้านค้าขายของชำ แต่ขายไม่ค่อยดี จึงว่าจ้างให้คนขึ้นไปปลูกบ้านตั้งชุมชนกันอยู่โดยออกค่าปลุกบ้านให้หลังละ 500 บาท (เมื่อประมาณ 60 ปีก่อน) ก็ทำให้กิจการการค้าดีขึ้น และเกิดเป็นชุมชนขยายมาจนถึงทุกวันนี้

It is believed that the first group of people on Koh Mook arrived from Koh Lipe over 150 years ago to settle on HuaLaem Bay; favouring the position over the rest of the island due to its easy access to open sea as well as the protection it offers from Monsoon. Later on, they are joined by those escaping from a war in the Malaya, bringing Islamic belief with them. The group of Chinese to follow were the first to start farming and orchads on the island, establishing connections with those on KanTang on the main land.

The settlement soon expanded towards the eastern beach front of the island, and soon other Bays were inhabited. Grouping of relatives were soon established among the bays.



จนเมื่อมีการประกาศให้เกาะมุกด์อยู่ในเขตอุทยานหาดเจ้าไหมในปี2526 ทำให้ชาวบ้านเริ่มถือครองที่ดินออกเอกสารสิทธิ์ตามที่ตนอยู่มาก่อน ทำให้คนบางกลุ่มอยู่ในที่ดินของผู้อื่น ภายหลังเมื่อการท่องเที่ยวเติบโตมากขึ้นความต้องการที่ดินสำหรับสร้างที่พักรองรับนักท่องเที่ยวก็มีมากขึ้น ทำให้ผู้มีเอกสารสิทธิ์เริ่มขายที่ดินก็มีการไล่คนที่อยู่บนที่ดิน ให้ไปอยู่ที่อื่นเช่นที่หัวแหลมที่คนดั้งเดิมก็ต้องย้ายไปอยู่ อ่าวป่ากั้งในปัจจุบัน จากการสำรวจในปัจจุบันมีบ้านเรือนประมาณ 400 หลังคาเรือน(ประชากรประมาณ 2,000 คน) มีผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ประมาณ 150 หลังคาเรือน อีก 100 หลังคาเรือน อยู่ในที่ดินป่าชานเลนในการดูแลของกรมป่าไม้ นั่นแสดงว่ามีผู้เป็นเจ้าของที่ดินประมาณ 150 หลังคาเรือน หลังจากเกิดเหตุการคลื่นสึนามิถล่ม เมื่อวันที่26 ธันวาคม2547 มีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ประมาณ 83 หลังคาเรือน มีเรือและอุปกรณ์ทำประมงเสียหายมากมาย แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต

In 1983 Koh Mook was included as part of the JaoMai National Park, initiating the process of staking the claims of land ownership on the island, causing several communities to end up with no land of their own, despite their time spent on the island. Once tourism arrived on Koh Mook, those with the right paper work started to evict communities from their land. Those settled on HuaLaem Bay moved onto PaGang Bay.

From our recent survey of 400 households (over 2,000 people); 150 have no land title, another 100 are living in the Dept. of Forestry land, leaving around 150 with the title deeds.

After the Asian tsunami in 2004, 83 houses were effected though more lost their boats and fishing equipments. There was no casualty on the island.

การตั้งถิ่นฐานในย่านเมืองตรัง | Settlement in Trang Area

ราวพุทธศตวรรษที่8 หรือประมาณ 1,800 ปี มาแล้วมี ชุมชนชื่อปาแลนดา หรือ ปะหลียน (ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของ จ.ตรัง ) ปรากฎในจดหมายเหตุของปโตเลมี ว่าเป็นเมืองท่า ทางฝั่งตะวันตก ของแหลมสุวรรณภูมิ นักวิชาการเห็นว่าเมืองนี้มีความสำคัญในยุคแรกเริ่มของการค้าสำเภาโบราณ เพราะพื้นที่จ.ตรัง มีเส้นทางข้ามคาบสมุทรอินเดียไปยังฝั่งอ่าวไทย ทั้งที่จ.นครศรีธรรมราช และจ.สุราษฎร์ธานี ความสำคัญของตรังในฐานะเมืองท่านี้มีอยู่ต่อเนื่องมาถึงสมัยศรีวิชัย อยุธยา และธนบุรี ชาวต่างชาติที่มาจากตะวันตกเพื่อมายังนครศรีธรรมราช หรือ อยุธยา จะมาขึ้นฝั่งที่ตรัง แล้วเดินทางต่อมาทางบก ในพุทธศตวรรษที่18 ตรังอยู่ในฐานะมือง12 นักษัตรบริวารของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช โดยตรังถือตรา มะมีย เป็นตราประจำมือง ในสมัยนี้มีการเผยแผ่พุทธศาสนาจากลังกามายังนครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อว่าตรังคือประตูสำคัญของการเดินทางติดต่อกัน



In the 8th Century, there existed a community known as 'Palanta' or 'Palean' (presently an aumper in Trang province) recorded in Ptoleme's letter, described as a port to the west of Suvanabhume Cape. This settlement was reasoned to have been of importance due to its location linking the Indian Ocean to the Gulf of Thailand. This importance lasted well into the SriVichai Era to Ayudhaya and Thonburi; all those arriving to Siam have to pass through Trang before getting to NakornSrithammarat and Ayudhaya by land. It is also considered to have been a gateway for Buddhism into Siam from SriLanka.

Welcome to Koh Mook | ยินดีต้อนรับสู่เกาะมุกด์